เมนู

วาเสฏฐสูตรที่ 9


ว่าด้วยบุคคลเป็นพราหมณ์เพราะชาติหรือกรรม


[381] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ราวป่าอิจฉานังคละใกล้
อิจฉานังคลคาม ก็สมัยนั้น พราหมณ์มหาศาลผู้มีชื่อเสียงเป็นอันมาก คือ
จังกีพราหมณ์ ตารุกขพราหมณ์ โปกขรสาติพราหมณ์ ชาณุสโสณีพราหมณ์
โตเทยยพราหมณ์ และพราหมณ์มหาศาลผู้มีชื่อเสียงเหล่าอื่น อาศัยอยู่ใน
อิจฉานังคลคาม ครั้งนั้นแล วาเสฏฐมาณพและภารทวาชมาณพ เดินพักผ่อน
อยู่ได้สนทนากันในระหว่างว่า ท่านผู้เจริญ บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ด้วยเหตุ
อย่างไร ภารทวาชมาณพกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ บุคคลผู้เป็นอุภโตสุชาต
ทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดีตลอด 7 ชั่ว
บรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านติเตียนได้ด้วยอ้างถึงชาติ บุคคลชื่อว่าเป็น
พราหมณ์ด้วยเหตุเพียงเท่านี้.
วาเสฏฐมาณพกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ บุคคลเป็นผู้มีศีลและถึง
พร้อมด้วยวัตร บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
ภารทวาชมาณพไม่สามารถจะให้วาเสฏฐมาณพยินยอมได้เลย และ
วาเสฏฐมาณพก็ไม่สามารถจะให้ภารทวาชมาณพยินยอมได้.
ลำดับนั้นแล วาเสฏฐมาณพจึงกล่าวกะภารทวาชมาณพว่า ท่านภาร-
ทวาชะ พระสมณโคดมผู้ศากยบุตรนี้ เสด็จออกผนวชจากศากยสกุล ประทับอยู่

ณ ราวป่าอิจฉานังคละ ใกล้อิจฉานังคลคาม ก็กิตติศัพท์อันงามของท่านพระ-
โคดมพระองค์นั้นขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ท่านภารทวาชะ
เราทั้งสองจงไปเฝ้าพระสมณโคดมเถิด ครั้นแล้วจักทูลถามเนื้อความนี้ พระ-
สมณโคดมจักตรัสพยากรณ์แก่เราด้วยประการใด เราจักทรงจำข้อความนั้นไว้
ด้วยประการนั้น.
ภารทวาชมาณพ รับคำว่าเสฏฐมาณพแล้ว ลำดับนั้น วาเสฏฐมาณพ
และภารทวาชมาณพ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้สนทนา
ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพลให้ระลึกถึงกันไปแล้ว
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว วาเสฏฐมาณพได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า
ด้วยคาถาว่า
[382] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้า
พระองค์ทั้งสองเป็นผู้มีไตรวิชชาอันอาจารย์
ยกย่องและรับรอง ข้าพระองค์เป็นศิษย์
ผู้ใหญ่ของโปกขรสาติพราหมณ์ ภารทวาช-
มาณพนี้เป็นศิษย์ผู้ใหญ่ของตารุกขพราหมณ์
ข้าพระองค์ทั้งสองเป็นผู้ถึงความ
สำเร็จในเวทที่อาจารย์ผู้มีไตรวิชชาบอกแล้ว
เป็นผู้เข้าใจตัวบท และเป็นผู้ชำนาญ
ไวยากรณ์ ในเวท เช่นกับอาจารย์.

ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์ทั้งสอง
มีการโต้เถียงกันเพราะการอ้างถึงชาติ ภาร-
ทวาชมาณพกล่าวว่า บุคคลเป็นพราหมณ์
เพราะชาติ ส่วนข้าพระองค์กล่าวว่า บุคคล
เป็นพราหมณ์เพราะกรรม ข้าแต่พระโคดม
ผู้มีพระจักษุขอพระองค์จงทรงทราบอย่างนี้.
ข้าพระองค์ทั้งสองนั้นไม่สามารถจะ
ให้กันและกันยินยอมได้ จึงพากันมา เพื่อ
จะทูลลามพระองค์ ผู้ปรากฏว่า เป็นพระ-
สัมพุทธะ.
ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์ทั้งสอง
ประณมอัญชลีเข้ามาถวายนมัสการพระองค์ผู้
ปรากฏว่า เป็นพระสัมพุทธะในโลก เหมือน
ชนทั้งหลาย ประณมอัญชลีเข้ามาไหว้นมัส-
การพระจันทร์อันเต็มดวง ฉะนั้น.
ข้าพระองค์ทั้งสองขอทูลถามพระ-
โคดมผู้มีพระจักษุ ผู้อุบัติขึ้นดีแล้วในโลกว่า
บุคคลเป็นพราหมณ์เพราะชาติหรือเพราะ
กรรม ขอพระองค์จงตรัสบอกแก่ข้าพระองค์
ทั้งสองผู้ไม่รู้ด้วยอาการที่ข้าพระองค์ทั้งสอง
จะพึงรู้จักพราหมณ์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนวาเสฏฐะ

เราจักพยากรณ์แก่ท่านทั้งหลายตาม
ลำดับตามสมควร สัตว์ทั้งหลายมีความแตก-
ต่างกันโดยชาติ เพราะชาติของสัตว์เหล่านั้น
มีประการต่าง ๆ กัน.
ท่านทั้งหลายจงรู้จักหญ้าและต้นไม้
แต่หญ้าและต้นไม้ ก็ไม่ยอมรับว่าเป็นหญ้า
เป็นต้นไม้ หญ้าและต้นไม่เหล่านั้น มีสัณ-
ฐานสำเร็จมาแต่ชาติ เพราะชาติของมัน
ต่าง ๆ กัน.
แต่นั้น ท่านทั้งหลายจงรู้จัก หนอน
ตั๊กแตน มดดำ และมดแดง สัตว์เหล่านั้น
มีสัณฐานสำเร็จมาแต่ชาติเพราะชาติของมัน
ต่าง ๆ กัน ท่านทั่งหลายจงรู้จักสัตว์ 4 เท่า
ทั้งตัวเล็กตัวใหญ่ สัตว์เหล่านั้นมีสัณฐาน
สำเร็จมาแต่ชาติเพราะชาติของมันต่าง ๆ กัน.
ต่อแต่นั้น ท่านทั้งหลายจงรู้จักปลา
ที่เกิดในน้ำ เที่ยวไปในน้ำ ปลาเหล่านั้น
มีสัณฐานสำเร็จมาแต่ชาติ เพราะชาติของ
มันมีต่าง ๆ กัน.
ถัดจากนั้น ท่านทั้งหลายจงรู้จักนก
ที่บินไปในเวหา นกเหล่านั้นมีสัณฐานสำเร็จ
มาแต่ชาติ เพราะชาติของมันต่าง ๆ กัน.

เพศที่สำเร็จมาแต่ชาติเป็นอันมาก
ไม่มีในมนุษย์ทั้งหลาย เหมือนอย่างสัณฐาน
ที่สำเร็จมาแต่ชาติเป็นอันมาก ในชาติเหล่านี้
ฉะนั้น.
การกำหนดด้วยผม ศีรษะ หู นัยน์ตา
ปาก จมูก ริมฝีปาก คิ้ว คอ บ่า ท้อง หลัง
ตะโพก อก ที่แคบ เมถุน มือ เท้า นิ้วมือ
เล็บ แข้ง ขา วรรณะ หรือเสียง ว่าผมเป็นต้น
ของพราหมณ์เป็นเช่นนี้ ของกษัตริย์เป็น
เช่นนี้ย่อมไม่มีเลย.
เพศที่สำเร็จมาแต่ชาติไม่มีในมนุษย์
ทั้งหลายเลย เหมือนอย่างสัณฐานที่สำเร็จมา
แต่ชาติในชาติเหล่าอื่น ฉะนั้น ความแตก
ต่างกันแห่งสัณฐานมีผมเป็นต้นนี้ ที่สำเร็จ
มาแต่กำเนิด ย่อมไม่มีในสรีระของตน ๆ
เฉพาะในตัวมนุษย์ทั้งหลายเลย แต่ความ
ต่างกันในมนุษย์ทั้งหลาย บัณฑิตกล่าวไว้
โดยชื่อ
ดูก่อนวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า
ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดผู้หนึ่งอาศัยโครักขกรรม
เลี้ยงชีพ ผู้นั้นเป็นชาวนา มิใช่พราหมณ์.

ดูก่อนวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า
ก็ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดผู้หนึ่ง อาศัยการค้าขาย
เลี้ยงชีพ ผู้นั้นเป็นพ่อค้า มิใช่พราหมณ์.
ดูก่อนวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า
ก็ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดผู้หนึ่งเลี้ยงชีพด้วยการ
รับใช้ผู้อื่น ผู้นั้นเป็นผู้รับใช้ มิใช่พราหมณ์.
ดูก่อนวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า
ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดผู้หนึ่งอาศัยการลักทรัพย์
เลี้ยงชีพ ผู้นั้นเป็นโจร มิใช่พราหมณ์.
ดูก่อนวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า
ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดผู้หนึ่งอาศัยลูกศรและ
ศัสตราเลี้ยงชีพ ผู้นั้นเป็นนักรบอาชีพ
มิใช่พราหมณ์.
ก่อนวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า
ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดหนึ่งเลี้ยงชีพด้วยความ
เป็นปุโรหิต ผู้นั้นเป็นผู้ยังบุคคลให้บูชา
มิใช่เป็นพราหมณ์.
ดูก่อนวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า
ก็ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดผู้หนึ่งปกครองบ้านและ
แว่นแคว้น ผู้นั้นเป็นพระราชา มิใช่
พราหมณ์.

ก็เราหากล่าวผู้เกิดแต่กำเนิดในท้อง
มารดาว่าเป็นพราหมณ์ไม่ ผู้นั้นเป็นผู้ชื่อว่า
โกวาที ผู้นั้นแลยังเป็นผู้มีเครื่องกังวล เรา
กล่าวบุคคลผู้ไม่มีเครื่องกังวล ผู้ไม่ถือมั่น
ว่าเป็นพราหมณ์.
เรากล่าวผู้ตัดสังโยชน์ได้ทั้งหมด
ไม่สะดุ้งเลย ล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องแล้ว
พรากโยคะทั้ง 4 ได้แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์.
เรากล่าวผู้ที่ตัดชะเนาะคือความโกรธ
เชือก คือ ตัณหา หัวเงื่อน คือ ทิฏฐิ 62
พร้อมทั้งสายโยง คือ อนุสัยเสียได้ ผู้มีลิ่มสลัก
อันถอดแล้ว ผู้ตรัสรู้แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์.
เรากล่าวผู้ไม่ประทุษร้าย อดกลั้น
ได้ซึ่งคำด่าว่า การทุบตีและการจองจำ ผู้มี
กำลังคือขันติ ผู้มีหมู่พลคือขันติ ว่าเป็น
พราหมณ์.
เรากล่าวผู้ไม่โกรธ มีวัตร มีศีล
ไม่มีกิเลสอันฟูขึ้น ฝึกตนแล้ว ทรงไว้ซึ่ง
ร่างกายมีในที่สุด ว่าเป็นพราหมณ์.
เรากล่าวผู้ไม่ติดอยู่ในกามทั้งหลาย
ดุจน้ำไม่ติดอยู่ในใบบัว ดุจเมล็ดพันธุ์

ผักกาดไม่ติดอยู่บนปลายเหล็กแหลม ว่าเป็น
พราหมณ์.
เรากล่าวผู้รู้ชัดความสิ้นไปแห่งทุกข์
ของตน ในศาสนานี้แล ผู้ปลงภาระแล้ว
พรากกิเลสได้หมดแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์.
เรากล่าวผู้มีปัญญาลึกซึ้ง มีเมธา
ผู้ฉลาดในทางและมิใช่ทาง ผู้บรรลุถึง
ประโยชน์อันสูงสุด ว่าเป็นพราหมณ์.
เรากล่าวผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยคน 2
พวก คือ คฤหัสถ์และบรรพชิต ไม่มีความ
อาลัยเที่ยวไป มีความปรารถนาน้อย ว่าเป็น
พราหมณ์.
เรากล่าวผู้วางอาชญาในสัตว์ทั้งหลาย
ทั้งผู้ที่สะดุ้งและมั่นคง ไม่ฆ่าเอง ไม่ใช้
ผู้อื่นให้ฆ่า ว่าเป็นพราหมณ์
เรากล่าวผู้ไม่ปองร้าย ผู้ดับเสียได้
ในผู้ที่มีอาชญาในตน ผู้ไม่ยึดถือในผู้ที่มี
ความยึดถือ ว่าเป็นพราหมณ์.
เรากล่าวผู้ที่ทำราคะ โทสะ มานะ
และมักขะ ให้ตกไปแล้ว ดุจเมล็ดพันธุ์

ผักกาดตกไปจากปลายเหล็กแหลม ว่าเป็น
พราหมณ์.
เรากล่าวผู้เปล่งถ้อยคำไม่หยาบ ให้
รู้ความกันได้ เป็นคำจริง ซึ่งไม่เป็นเหตุทำ
ใคร ๆ ให้ข้องอยู่ ว่าเป็นพราหมณ์.
ก็เรากล่าวผู้ไม่ถือเอาสิ่งของยาวหรือ
สั้น น้อยหรือใหญ่ งามและไม่งาม ซึ่ง
เจ้าของมิได้ให้แล้วในโลก ว่าเป็นพราหมณ์.
เรากล่าวผู้ไม่มีความหวังทั้งในโลกนี้
และในโลกหน้า ผู้สิ้นหวัง พรากกิเลสได้
หมดแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์.
เรากล่าวผู้ไม่มีความอาลัย รู้ทั่วถึง
แล้ว ไม่มีความสงสัย หยั่งลงสู่นิพพาน ได้
บรรลุแล้วโดยลำดับ ว่าเป็นพราหมณ์.
เรากล่าวผู้ละทิ้งบุญและบาปทั้ง 2
ล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องได้แล้ว ไม่มีความ
เศร้าโศก ปราศจากธุลี บริสุทธิ์แล้ว ว่า
เป็นพราหมณ์.
เรากล่าวผู้มีความยินดีในภพหมดสิ้น
แล้ว ผู้บริสุทธิ์ มีจิตผ่องใส ไม่ขุ่นมัว

ดุจพระจันทร์ที่ปราศจากมลทิน ว่าเป็น
พราหมณ์.
เรากล่าวผู้ล่วงทางอ้อม หล่มสงสาร
โมหะเสียได้ เป็นผู้ข้ามถึงฝั่ง เพ่งฌาน
ไม่หวั่นไหว ไม่มีความสงสัย ดับกิเลสได้
แล้วเพราะไม่ถือมั่น ว่าเป็นพราหมณ์.
เรากล่าวผู้ละกามในโลกนี้ได้เด็ดขาด
เป็นผู้ไม่มีเรือน บวชเสียได้ มีกามราคะ
หมดสิ้นแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์.
เรากล่าวผู้ละตัณหาในโลกนี้ได้เด็ด-
ขาด เป็นผู้ไม่มีเรือน งดเว้น มีตัณหาและ
ภพหมดสิ้นแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์.
เรากล่าวผู้ละโยคะที่เป็นของมนุษย์
แล้วล่วงโยคะที่เป็นของทิพย์เสียได้ ผู้พราก
แล้วจากโยคะทั้งปวง ว่าเป็นพราหมณ์.
เรากล่าวผู้ละความยินดีและความไม่
ยินดี เป็นผู้เยือกเย็น หาอุปธิมิได้ ผู้ครอบงำ
โลกทั้งปวง มีความเพียร ว่าเป็นพราหมณ์.
เรากล่าวผู้รู้จุติและอุบัติของสัตว์
ทั้งทลาย โดยอาการทั้งปวง ผู้ไม่ข้อง ไปดี
ตรัสรู้แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์.

เรากล่าวผู้ที่เทวดา คนธรรพ์ และ
มนุษย์ รู้คติไม่ได้ ผู้สิ้นอาสวะแล้ว เป็น
พระอรหันต์ ว่าเป็นพราหมณ์.
เรากล่าวผู้ไม่มีเครื่องกังวลในขันธ์
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ไม่มี
เครื่องกังวล ไม่ยึดถือ ว่าเป็นพราหมณ์.
เรากล่าวผู้องอาจ ประเสริฐ เป็น
นักปราชญ์ แสวงหาคุณใหญ่ ชนะมาร
ไม่มีความหวั่นไหว ล้างกิเลสหมด ตรัสรู้
แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์.
เรากล่าวผู้ระลึกชาติก่อน ๆ ได้ เห็น
สวรรค์และอบาย และถึงความสิ้นไปแห่ง
ชาติแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์.
นามและโคตรที่เขากำหนดกัน เป็น
บัญญัติในโลก นามและโคตรมาแล้วเพราะ
การรู้ตามกันมา ญาติสายโลหิตทั้งหลาย
กำหนดไว้ ในกาลที่บุคคลเกิดแล้วนั้น ๆ.
นามและโคตรที่กำหนดกันแล้วนี้
เป็นความเห็นของพวกคนผู้ไม่รู้ ซึ่งสืบเนื่อง
กันมาสิ้นกาลนาน พวกคนผู้ไม่รู้ ย่อมกล่าว
ว่า บุคคลเป็นพราหมณ์เพราะชาติ.

แต่บุคคลเป็นพราหมณ์เพราะชาติ
ก็หามิได้ แต่เป็นพราหมณ์ ก็เพราะกรรม
ไม่เป็นพราหมณ์ ก็เพราะกรรม.
เป็นชาวนาก็เพราะกรรม เป็นศิลปิน
เป็นพ่อค้า เป็นผู้รับใช้ เป็นโจร เป็นนักรบ
อาชีพ เป็นปุโรหิต และแม้เป็นพระราชา
ก็เพราะกรรม.
บัณฑิตทั้งหลายผู้มีปกติเห็นปฏิจจ-
สมุปบาท ฉลาดในกรรมและวิบาก ย่อม
เห็นกรรมตามความเป็นจริงอย่างนี้.
โลกย่อมเป็นไปเพราะกรรม หมู่สัตว์
ย่อมเป็นไปเพราะกรรม สัตว์ทั้งหลายมีกรรม
เป็นเครื่องผูกพัน เปรียบเหมือนหมุดแห่ง
รถที่แล่นไปอยู่ ฉะนั้น.
บุคคลเป็นพราหมณ์เพราะกรรมอัน
ประเสริฐนี้ คือ ตบะ สัญญมะ พรหมจรรย์
และทมะ กรรมนี้ นำความเป็นพราหมณ์ที่
สูงสุดมาให้.
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยไตรวิชชา เป็น
คนสงบ มีภพใหม่สิ้นไปแล้ว เป็นพราหมณ์

ผู้องอาจของบัณฑิตทั้งหลาย ผู้รู้แจ้งอยู่
ท่านจงรู้อย่างนี้เถิด วาเสฏฐะ.

[383] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว วาเสฏฐมาณพ และ
ภารทวาชมาณพ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระองค์ทั้งสอง
ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบวาเสฏฐสูตรที่ 9

อรรถกถาวาเสฏฐสูตรที่ 9


วาเสฏสูตร มีคำเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ดังนี้.
พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร ?
การเกิดขึ้นนี้ท่านกล่าวไว้แล้วในนิทานแห่งสูตรนั้น. แต่ข้าพเจ้าจะ
พรรณนาความเรียบเรียงนัยแห่งสูตรนั้นมากล่าว และบทที่มีความง่าย.
บทว่า อิจฺฉานงฺคโล เป็นชื่อของบ้าน. พราหมณ์มหาศาลมีชื่อ
เรียกดังนี้ คือ จังกีพราหมณ์ ตารุกขพราหมณ์ โตเทยยพราหมณ์ ผู้ทำนาย
โชคชะตาคือ โปกขรสาติพราหมณ์ ชาณุสโสณีพราหมณ์. นัยว่า พราหมณ์
สองคนนั้น คนหนึ่งเกิดในดอกบัวในสระโบกขรณีข้างหิมวันตประเทศ. ดาบส
คนหนึ่งเก็บดอกบัวนั้นเห็นทารกนอนอยู่ในดอกบัวเลี้ยงให้โตแล้วจึงนำไปถวาย
พระราชา. เพราะทารกนั้นนอนอยู่ในดอกบัวจึงชื่อว่า โปกขรสาติ. อีกคนหนึ่ง